โครงการลดหย่อนภาษีประจำปีกลับมาอีกครั้ง 2567
มหกรรมช้อปสินค้าลดหย่อนภาษีเป็นโครงการที่มาตามนัดเป็นประจำในช่วงต้นปี หลายคนคุ้นชื่อของ “ช้อปดีมีคืน” ที่มีส่วนลดสำหรับนำไปใช้ยื่นลดหย่อนภาษีในรอบลดหย่อนครั้งต่อไป ต้นปี 2566 ที่ผ่านมาใครได้เข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน อย่าลืมไปยื่นลดหย่อนภาษี 2566 ที่กำลังจะเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 ทั้งทางเอกสารที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง และทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th การยื่นภาษีของปีที่ผ่านมาเริ่มต้น ก็ถึงคราววางแผนการยื่นภาษีของปีต่อไปกันแล้ว
โครงการช้อปดีมีคืน เป็นโครงการที่จัดขึ้นในช่วงต้นปี สำหรับปี 2567 นี้ใช้ชื่อว่า Easy E-Receipt จากชื่อเดิม e-Refund และปรับแผนการขอใบกำกับภาษีเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด ลดหย่อนได้สูงสุดถึง 50,000 บาท มีระยะเวลาโครงการในการใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ถือเป็นโครงการคืนความคุ้มตั้งแต่ช่วงปีใหม่กันเลยทีเดียว
โครงการ Easy E-Receipt ช้อปดีมีคืน 2567 คืออะไร?
เข้าใกล้ปีใหม่ 2567 แบบนี้มีข่าวสารมากมายให้คอยติดตาม หนึ่งในนั้นก็คงไม่พ้นเรื่องภาษีและการลดหย่อน ซึ่งปีใหม่ 2567 โครงการช้อปดีมีคืนได้แปลงโฉมใหม่ภายใต้ชื่อ Easy E-Receipt ที่เพิ่งผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 4 ธันวาคม 2566 นี้เอง โดยโครงการนี้จะมูลค่าการลดหย่อนสูงถึง 50,000 บาท ซึ่งมากกว่าช้อปดีมีคืน 2566 ที่ลดหย่อนสูงสุดได้เพียง 40,000 เท่านั้น ความต่างของโครงการช้อปดีมีคืน 2566 และโครงการ Easy E-Receipt 2567 หลัก ๆ มีดังนี้
- ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนสูงสุดเพียง 40,000 บาท ขณะที่โครงการ Easy E-Receipt ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท ซึ่งมีส่วนต่างมากถึง 10,000 บาท
- โครงการ Easy E-Receipt จำกัดเฉพาะการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น ขณะที่โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถใช้ได้ทั้งใบกำกับภาษีแบบกระดาษและแบบอิเล็กทรอนิกส์
- ช้อปดีมีคืน 2566 แบ่งการลดหย่อนออกเป็นใบกำกับภาษีแบบกระดาษสูงสุด 30,000 บาท และแบบอิเล็กทรอนิกส์ 10,000 บาท รวมลดหย่อนสูงสุด 40,000 บาท ขณะที่โครงการ Easy E-Receipt ให้สิทธิ์ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท จากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 100%
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวอย่างที่พัก โรงแรม เช่ารถ และอื่น ๆ ที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ให้บริการลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอใบกำกับภาษีมาลดหย่อนภาษีได้กับโครงการ Easy E-Receipt ซึ่งช้อปดีมีคืนไม่สามารถทำได้
Easy E-Receipt เป็นโครงการที่ออกแบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าจะทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 62.14% เป็น 65% และเป็นช่วงเวลาเหมาะที่คนจะได้จับจ่ายใช้สอยในช่วงปีใหม่
เงื่อนไขผู้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt
การเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt มีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้รับสิทธิ์ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่เชื่อมโยงกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (Digital wallet) ด้วย ซึ่งดิจิทัลวอลเล็ตเป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการมอบเงิน 10,000 บาท ให้ประชาชนนำไปจับจ่ายใช้สอยตามที่กำหนดในเงื่อนไข ผู้ได้รับสิทธิ์ดิจิทัลวอลเล็ตและสิทธิ์ Easy E-Receipt จึงเป็นคนละกลุ่มกัน
ผู้รับสิทธิ์ดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet)
- เป็นผู้ถือสัญชาติไทย อายุ 16 ปีขึ้นไป
- มีรายได้น้อยกว่า 70,000 บาท/เดือน
- ไม่มีเงินฝากในบัญชีธนาคารเกิน 500,000 บาท
คาดว่าคนไทยจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจำนวน 50 ล้านคนทั่วประเทศ และเริ่มให้จับจ่ายใช้สอยได้ภายในต้นปี 2567 ที่จะถึงนี้
ผู้รับสิทธิ์ Easy E-Receipt
- เป็นผู้ถือสัญชาติไทย และถึงเกณฑ์จ่ายภาษีประจำปี
- ไม่ได้รับสิทธิ์ดิจิทัลวอลเล็ต
- มีเงินเดือนสูงกว่า 70,000 บาท/เดือน และมีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท
ผู้ที่เข้าเกณฑ์ใช้สิทธิ์โครงการ Easy E-Receipt สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ร่วมรายการ เพื่อยื่นลดหย่อนภาษีในปีการยื่นภาษี 2568 ได้เลย เพียงมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐาน
สินค้าที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมรายการ Easy E-Receipt
โครงการ Easy E-Receipt เป็นโครงการช้อปดีมีคืน แต่ให้วงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 50,000 บาท โดยมีการกำหนดสินค้าและบริการที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการเอาไว้อย่างชัดเจน โดยมีสินค้าที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมรายการ ดังนี้
สินค้าที่เข้าร่วมรายการ Easy E-Receipt
- เป็นสินค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) โดยสินค้าที่ร้านค้ามีการลงทะเบียนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นสินค้าที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้
- สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงหนังสือที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
- สินค้าโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า OTOP โดยไม่จำเป็นต้องเป็นร้านค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้
สินค้าที่เข้าร่วมรายการทั้งหมดที่กล่าวมาจะต้องสามารถออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย เพื่อให้มีหลักฐานในการยื่นลดหย่อนภาษี
สินค้าที่ไม่เข้าร่วมรายการ Easy E-Receipt
ทางกรมสรรพากรมีรายชื่อสินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt เอาไว้ทั้งหมด 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันได้แก่ สุรา เบียร์ ไวน์
- ยาสูบ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ และค่าพลังงานในการเติมยวดยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค อันได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสัญญาณโทรศัพท์ที่เป็นสัญญาระยะยาว โดยสัญญาเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
ในการลดหย่อนภาษีผ่านโครงการ Easy E-Receipt สามารถใช้กับการท่องเที่ยวได้ แต่ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อความมั่นใจสามารถสอบถามร้านค้าก่อนได้ว่าเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt หรือไม่ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้หรือไม่
ช้อป Easy E-Receipt คุ้มค่ายิ่งขึ้นผ่าน “บัตรเครดิต”
เรื่องที่เพิ่มความคุ้มค่าให้มากขึ้นผ่านการใช้จ่ายทางบัตรเครดิตเป็นสิทธิประโยชน์ที่คนถือบัตรควรรู้ เพราะนอกจากจะได้รับส่วนลดจากโครงการ Easy E-Receipt แล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ดี ๆ จากบัตรเครดิตอีกด้วย การช้อปให้คุ้มมากขึ้นผ่านบัตรเครดิตสามารถทำได้ดังนี้
1.) หาโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่ถืออยู่
โดยปกติโปรโมชั่นบัตรเครดิตสามารถตรวจสอบได้จากหน้าบัตรเครดิตจากธนาคารโดยตรง ในแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่เชื่อมกับบัตรเครดิต และหน้าเว็บไซต์หรือช่องทางออฟฟิเชียลของร้านค้า แล้วเลือกใช้บัตรเครดิตที่เข้าร่วมรายการร้านค้าที่ต้องการใช้บริการ
2.) ช้อปในช่วง Sale
ปีใหม่เป็นช่วงที่มีโปรส่งท้ายปี หรือ New Year Sale ในหลาย ๆ ร้าน การใช้จ่ายในช่วงนี้จะได้สินค้าและบริการราคาพิเศษ และหลาย ๆ ร้านก็มีโปรโมชั่นส่วนลด On Top ผ่านบัตรเครดิตที่ทำให้จ่ายลงกว่าเดิม
3.) บางครั้งซื้อออนไลน์ถูกกว่า
โปรโมชั่นวันเลขเบิ้ล เช่น วันโปร 2.2 เป็นช่วงที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีการจัดโปรโมชั่นลดกระหน่ำ ช่วยให้การซื้อของผ่านออนไลน์ เช่น ผ่อนของ Lazada หรือ Shopee ลดมากขึ้น และบัตรเครดิตก็มักจะร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ แต่ต้องระวังให้มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ออกมาก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ยังเข้าเงื่อนไขโครงการ Easy E-Receipt
บัตรเครดิตสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดค่าสินค้าและบริการได้ โดยบัตรเครดิตหลายใบให้ความคุ้มค่าเป็นพิเศษเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตร เช่น
UOB premier
บัตรเครดิตที่เหมาะกับสายเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ สายช้อปปิ้งทั้งในและต่างประเทศ พร้อมสิทธิประโยชน์ในการรับเครื่องดื่มฟรีในร้านที่ร่วมรายการ
UOB Lady’s Card
บัตรเครดิตสำหรับสาว ๆ กับการช้อปปิ้งตามไลฟ์สไตล์ของผู้หญิง โดยเฉพาะสายแฟชั่น เสื้อผ้าแบรนด์เวียดนาม ได้รับทั้งเครดิตเงินคืน แต้มสะสมที่มากขึ้น และผ่อนชำระนานสูงสุด 6 เดือน (หากผ่อนชำระเกินระยะเวลาโครงการ Easy E-Receipt จะไม่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี)
UOB Preferred Platinum Card
บัตรเครดิตสำหรับสานช้อปปิ้ง โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทุกสาขา เหมาะกับเป็นบัตรเซ็นทรัลพื้นฐานติดตัว และห้างอื่น ๆ รวมถึงรับเครดิตเงินคืนทั้งจากการช้อปปิ้งออฟไลน์และออนไลน์
UOB Privimiles Card
บัตรเครดิตที่เหมาะสำหรับสายเดินทาง มีประกันค่าเดินทางสูงสุด 2 ล้านบาท และแลกคะแนนบัตรเครดิตเป็นเที่ยวบินได้ เน้นสายการบิน Air Asia และการบินไทย รวมถึงส่วนลดและสิทธิประโยชน์ดี ๆ จากการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม ที่พัก เช่ารถ และอื่น ๆ
บัตรเครดิต UOB เหล่านี้ตอบโจทย์การใช้งานของนักช้อป ซึ่งการช้อปปิ้งแล้วได้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องตามระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ มีกำหนดการโครงการ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ช้อปให้คุ้มผ่านบัตรเครดิตและนำไปลดหย่อนสุดคุ้มช่วงปลายปี ยิ่งช้อปเยอะยิ่งได้ลดหย่อนเยอะ สูงสุดถึง 50,000 บาท ใครไม่ได้ดิจิทัลวอลเล็ตอย่าพลาดเก็บความคุ้มจากโครงการ Easy E-Receipt ไปใช้
>>สมัครบัตรเครดิต UOB เพิ่มความคุ้มลดหย่อนภาษี<<อ่านเพิ่มเติม: