อยากเปิดแฟรนไชส์ต้องทำอะไรบ้าง?
การเปิดธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอีกทางเลือกของการเปิดธุรกิจ เพราะมีเงินลงทุนที่แน่นอนและมีการเตรียมรูปแบบของร้านเอาไว้แล้ว ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ก่อนจะเปิดแฟรนไชส์ควรศึกษาก่อนว่าแฟรนไชส์แต่ละประเภทมีข้อจำกัดอย่างไร เพื่อให้เลือกแฟรนไชส์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองมากที่สุด รวมถึงวิเคราะห์โอกาสในการเติบโตหลังจากเปิดแฟรนไชส์ด้วย การเปิดแฟรนไชส์เป็นอีกก้าวของการเพิ่มพูนรายได้ที่ไม่ใช่แค่รู้วิธีเก็บเงินให้อยู่ แต่เป็นการเริ่มต้นนำเงินเก็บออกมาจัดการให้มีเงินมากขึ้น
แฟรนไชส์ คืออะไร? เตรียมตัวเปิดอย่างไรบ้าง?
คำว่า แฟรนไชส์ (Franchise) มีความหมายว่าธุรกิจรายย่อยที่ได้รับอนุญาติจากแบรนด์หนึ่ง ๆ ในการดำเนินกิจการภายใต้ชื่อของแบรนด์นั้น ซึ่งในการซื้อขายแฟรนไชส์จะมีคำศัพท์ที่ควรรู้ 2 คำ ได้แก่
1.) แฟรนไชส์เซอร์ (Franchiser)
เป็นผู้ริเริ่มกิจการ วางแบบแผน และระบบของร้านให้ออกมาเป็นที่ยอมรับ และมั่นใจได้ว่าสามารถสร้างของอร่อย ของมีคุณภาพ และทำกำไรให้กับผู้ที่ต้องการเปิดแฟรนไชส์ของตัวเองได้
2.) แฟรนไชส์ซี (Franchisee)
เป็นผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์มาจากแฟรนไชส์เซอร์และบริหารงานต่อ โดยใช้ชื่อแบรนด์ และวัตถุดิบตามกำหนดของแฟรนไชส์เซอร์ แต่แฟรนไชส์ซีไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของแฟรนไชส์เซอร์ มีอำนาจในการตัดสินใจภายในร้าน เพียงมีเงื่อนไขของแฟรนไชส์ที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้น
การเปิดแฟรนไชส์เป็นแนวทางการเริ่มธุรกิจสำหรับคนที่ต้องการมีกิจการของตนเอง แต่ไม่อยากเริ่มต้นลองผิดลองถูกใหม่ตั้งแต่ต้น แฟรนไชส์ช่วยลดความเสี่ยงในส่วนนี้ได้ แต่การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนทุกครั้ง
แจกส่วนลด Makro Pro รับส่วนลดเพิ่ม 200
ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมก่อนเปิดแฟรนไชส์
การเปิดแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมพร้อม และมีเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินสดด่วนเอาไว้ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายในยามจำเป็นได้ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการเปิดแฟรนไชส์มีดังนี้
- ค่าแฟรนไชส์ – เป็นเงินแรกเข้าในการซื้อแฟรนไชส์ ถือเป็นเงินที่ใช้ซื้อชื่อแบรนด์ ระบบการจัดการ และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับร้าน
- ค่าใช้จ่ายรายงวด – เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อต่ออายุการดำเนินกิจการ บ้างก็เรียก Royalty Fee ใช้เพื่อพัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน และเพื่อคงแฟรนไชส์เอาไว้
- ค่าเช่าที่และการเปิดร้าน – เป็นค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซีออกเพื่อเปิดร้าน หากมีหน้าร้านก็จะต้องมีค่าเช่าที่ตามมา หากเปิดในบ้านหรือพื้นที่ส่วนตัวก็จะมีค่าเสื่อมสภาพของที่ดิน
- ค่าตกแต่งร้าน – เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดแต่งร้านให้น่าเข้า รวมไปถึงการจัดแต่งร้านตามเทศกาลต่าง ๆ ด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสนใจร้านค้ามากขึ้น
- ค่าวัตถุดิบ – แฟรนไชส์บางแห่งไม่ได้กำหนดให้ใช้วัตถุดิบของทางแฟรนไชส์เท่านั้น แฟรนไชส์ซีจึงสามารถซื้อของสดได้เอง ทั้งจากแมคโครออนไลน์หรือห้างใกล้บ้าน
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซีควรสำรองเอาไว้ก่อนเปิดแฟรนไชส์ ส่วนค่าใช้จ่ายจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแฟรนไชส์ที่เลือก โดยแฟรนไชส์จะมีมูลค่าตั้งแต่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว ควรเลือกร้านที่เหมาะกับงบประมาณของตนเอง
แฟรนไชส์ที่น่าสนใจ ได้รับความนิยม
ธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมมีอยู่หลากหลาย โดยแฟรนไชส์ที่น่าสนใจมักจะเป็นแฟรนไชส์ที่เข้าถึงง่าย คนรู้จักเป็นจำนวนมาก เช่น
นูโอะชา (Nuocha)
ค่าแฟรนไชส์ประมาณ 20,000 บาท
เป็นแฟรนไชส์ชานมไต้หวันแก้วละ 19 บาท มีจุดเด่นที่สามารถเปิดได้ง่าย ไม่ต้องมีหน้าร้านก็ทำได้ เพราะสามารถทำส่งแบบเดลิเวอรี่ได้ แฟรนไชส์มีทั้งเมนูเครื่องดื่มและขนมปัง ตอบโจทย์การกินในยุคปัจจุบัน
เป๋าตุง
ค่าแฟรนไชส์ประมาณ 8,000 บาท
ขนมจีบ ซาลาเปาไม่ได้มีแค่ในเซเว่นอีเลฟเว่นเท่านั้น โดยแฟรนไชส์นี้เป็นแฟรนไชส์ขนมจีบ ซาลาเปา ที่มีพื้นที่เล็ก ๆ ก็สามารถทำได้ มีซาลาเปาและขนมจีบให้ พร้อมน้ำจิ้มสูตรเด็ดให้นำไปขาย พร้อมบริการให้ยืมชุดแฟรนไชส์ไปใช้ได้ เมื่อเลิกกิจการจึงค่อยนำมาคืน ที่สำคัญเป็นแฟรนไชส์ที่ราคาน่ารักมาก
Cochon โคชอนไก่เกาหลี
ค่าแฟรนไชส์ประมาณ 8,000 บาท
เป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดพร้อมซอสเกาหลีสูตรเด็ด เมนูง่าย ๆ ที่เป็นเมนูกินเล่นยอดฮิต ขายง่าย อร่อยด้วย เพียงมีพื้นที่เล็ก ๆ หรือเช่าที่ตามตลาดนัดก็สามารถขายไก่ทอดเกาหลีของโคชอนได้แล้ว
Season Crepe
ค่าแฟรนไชส์ประมาณ 10,000 บาท
เป็นร้านเครปที่มีความอร่อยโดดเด่น เป็นของกินเล่นที่ได้รับความนิยม ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับอุปกรณ์ได้การทำเครปอย่างครบถ้วน พร้อมสูตรทำแป้งเครปกรอบอร่อย ฝึกทำไม่นานก็เป็นคนขายเครปได้ทันใจ
การลงทุนแฟรนไชส์เป็นการลงทุนด้วยเงินก้อน และใช้การบริหารเพื่อให้แฟรนไชส์เติบโตมากยิ่งขึ้นไปอีก คนที่ต้องการเปิดร้านแฟรนไชส์แต่มองหาเงินด่วนฉุกเฉินอยู่ แนะนำให้มีบัตรกดเงินสด UOB Cash Plus Card เอาไว้ เพื่อเป็นเงินสำรองยามจำเป็น มีติดตัวไว้อุ่นใจกว่า
>>มองหาเงินด่วนฉุกเฉิน นึกถึงบัตรกดเงินสด UOB Cash Plus<<อ่านเพิ่มเติม: