Sunday, September 8, 2024
Homeข่าวสารพ.ร.บ. คู่ชีวิต รักร่วมเพศ จดทะเบียนสมรสได้

พ.ร.บ. คู่ชีวิต รักร่วมเพศ จดทะเบียนสมรสได้

ครม. ไฟเขียว ออก พ.ร.บ. คู่ชีวิต เพื่อคุ้มครองกลุ่มรักร่วมเพศ

ข่าวดีสำหรับกลุ่มรักร่วมเพศ เนื่องจาก ทางคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตขึ้นมา เพื่อคุ้มครองกล่มหลากหลายทางเพศ ให้สามารถจดทะเบียนสมรส และ แต่งงาน รวมไปถึงการมีบุตรบุญธรรมได้ เพื่อเป็นการใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียวกันในสัมคม

ทางรองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติเห็นชอบพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ซึ่งเสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทำการตรวจพิจารณา พ.ร.บ. สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียม และ เป็นธรรม โดยไม่ให้เลือกปฎิบัติ โดยมีสาระสำคัญ ทั้งหมด 9 ข้อ สามารถดูรายละเอียดได้ด้านล่าง

สาระสำคัญ พ.ร.บ. คู่ชีวิต

  1. คู่ชีวิต หมายความถึง บุคคล 2 คน ซึ่งเป็นเพศเดียวกัน โดยกำเนิด และ ได้จดทะเบียนคู่ชีวิต ตาม พ.ร.บ. นี้
  2. ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชน และ ครอบครัว มีอำนาจพิเศษ พิพากษาคดี ตาม พ.ร.บ. นี้
  3. สามารถสดทะเบียนคู่ชีวิต โดยจะทำได้ ต่อเมื่อบุคคล ทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม และ มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และ ทั้ง 2 มีสัญชาติไทย หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
  4. ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ จะต้องจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้ รับความยินยอมจาก บิดา, มารดา, ผู้รับบุตรบุญธรรม, ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
  5. ให้นำบทบัญญัติ ในการประมวลผลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส ตามมาตรา 1606, 1652 และ 1563 ครอบครัว และ บุตรบุญธรรม มาใช้บังคับ กับคู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
  6. ให้คู่ชีวิตมีอำนาจการจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับ สามี หรือ ภรรยา ตามมาตรา 3 และ 5(2) โดยให้มีอำนาจดำเนินคดีต่อผู้ตายต่อไป เช่นเดียวกับ สามี หือ ภรรยา มาตรา 29 วรรค หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  7. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับ คู่สมรสตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ว่าด้วยมรดก
  8. คู่ชีวิต สามารถร ับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบัญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมได้
  9. บทบัญญัติเกี่ยวกับ ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัว และ ทรัพย์สินร่วมกัน

นอกจาก สาระสำคัญ พ.ร.บ. คู่ชีวิต 9 ข้อที่ออกมา ทาง คณะรัฐมนตรียังได้ พิจารณาเห็นชอบ ให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ภายหลังร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้แล้ว โดยจะพิจารณาศึกษาผลกระทบ และ แนวทางการแก้ไข เพื่อให้ความคุ้มครอง สิทธิ และ หน้าที่ของคู่ชีวิต ให้มีความเป็นธรรม และ ไม่เลือกปฎิบัติ

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ 

  • กำหนดให้ชาย หรือ หญิง ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรส หรือ คู่ชีวิตอยู่ไม่ได้
  • กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมไปถึงกรณีสามี หรือ ภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่องผู้อื่น
  • กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือ จดทะเบียนคู่ชีวิต

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -แจกส่วนลดลูกค้าใหม่ Makro Pro สมัครบัตร UOB Lady’s Card สมัครบัตร UOB Lady’s Card สมัครบัตร AMEX รับ 150,000 คะแนน สมัครบัตร AMEX

Most Popular

Recent Comments