COVID-19 ทำพิษ สายการบินแห่ยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ
ทางผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ออกมาประกาศ ถึงผลการประชุมของผลกระทบจากสารนการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีต่อสายการบินของประเทศไทย ซึ่งได้ม การประชมร่วมกับตัวแทนของ 20 สายการบิน ที่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อประเมินผลกระทบ และ หาแนวทางการช่วยเหลือ สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับแจ้งมา กพท. ได้ออกมาแจ้งว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2563 ทางสายการบินแจ้งยกเลิกเที่ยวบิน ระหว่างประเทศไปแล้ว รวมทั้งหมด 9,797 เที่ยวบิน ทำให้ผู้โดยสารระหว่างประเทศ หายไปถึง 3 ล้านคน ถ้าเกิดว่าสถานการณ์ดีขึ้นในเดือนเมษายน 2563 การท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง ปัญหาครั้งนี้ ส่งผลกระทบให้กับปริมาณผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศปีนี้ หายไปราวๆ 5 ล้านคน เหลือเพียง 81 ล้านคน เท่านั้น ลดลงจากปีที่แล้ว 8.7%
จากผลกระทบดังกล่าว ผู้ประกอบการสายการบินได้เสนอมาตรการให้ภาครัฐช่วง 5 ข้อ
- ขอปรับลดค่าธรรมเนียม การขึ้น-ลง และ ค่าจอดอากาศยาน, ค่าเช่าอาคาร สำนักงาน ของการท่าฯ และ ของกรมท่าอากาศยาน รวมถึงค่าบริหารจัดการจราจร รวมไปถึงการขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียม และ ค่าบริการอื่นๆ จาก 1 เดือน เป็น 2 เดือน
- ขอให้ภาครัฐเพื่มความสะดวก ในการหารายได้เพิ่ม ด้วยการเพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยน เส้นทางบินให้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากว่ามีแนวโน้วว่า สายการบินจะกลับมาบินในเส้นทางในประเทศมากขึ้น
- ขอให้ภาครัฐ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ดดยสาร และ นักท่องเที่ยว
- ขอให้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยให้มีการปรับลดท่าะรรมเนียมค่าโดยสาร เช่นภาษีสนามบิน ลดลง 50% เพื่อกระตุ้นการเดินทาง
- ขอให้ประสานธนาคารรัฐจัดหาแพกเกจวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สายการบิน รวมทั้งขยายเวลาการชำระหนี้ให้ยาวกว่าปกติ เนื่องจากใน 3-4 เดือนข้างหน้า ทางสายการบินจะมีปัญหาในเรื่อวสภาพคล่อย โดยเฉพาะ สายการบินต้นทุนต่ำที่มีการบินไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยง เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ เป็นต้น